เปิดผลสำรวจความเห็นผู้บริหาร 200 บริษัททั่วเอเชียปซิกฟิก ผลกระทบโควิด-19 ยังไม่ตัดสินใจลดขนาดออฟฟิศ/จำนวนสาขาสำนักตอนนี้

510

 

JLLบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ สำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร 200 รายจากบริษัทชั้นนำย่านเอเชียแปซิฟิก “ไทย-จีน (รวมฮ่องกง)-อินเดีย-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้-มาเลเซีย-ไต้หวัน-สิงคโปร์-ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์” ส่วนใหญ่ระบุ ยังมั่นใจในธุรกิจ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 คาดว่า บริษัทจะยังรักษาขนาดออฟฟิศและจำนวนสาขาสำนักงานไว้คงเดิม ผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า ผู้บริหารเหล่านี้กำลังสร้างจินตนาการใหม่สำหรับสถานที่ทำงานในอนาคต โดยในแผนการลงทุนของบริษัทจะเน้นให้ความสำคัญกับพลานามัยและสุขภาวะที่ดีของพนักงาน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

ทั้งนี้ผู้ร่วมการสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่พอใจสูงกับแผนสำรองทางธุรกิจในสถานการณ์ฉุกเฉินของบริษัท โดย 88% เห็นว่า แผนของบริษัทมีประสิทธิภาพไปถึงมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง นอกจากนี้ อย่างน้อย 90% เชื่อมั่นว่า แผนของบริษัทด้านการดำเนินการและฟื้นฟูธุรกิจองค์กรจากวิกฤติการณ์โรคระบาดจะประสบความสำเร็จ และ 70% มั่นใจว่า ภาครัฐฯ จะสามารถแนะนำและดำเนินมาตรการต่างๆ สำหรับลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ดี ผู้ร่วมการสำรวจความเห็นส่วนใหญ่ยังคาดด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบไม่มากนักต่อการเพิ่มหรือลดขนาดสถานประกอบการหรือจำนวนสาขาสำนักงาน เว้นแต่ในบางประเทศ อาทิ อินเดียที่คาดว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นในวงกว้างและรวดเร็วมากขึ้น แต่แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันไป 63% ของผู้ร่วมการสำรวจความเห็นเชื่อว่า บริษัทของตนจะยังคงรักษาขนาดสถานประกอบการหรือจำนวนสาขาสำนักงานไว้เท่าเดิม

ด้านนายแอนโธนี เคาส์ ซีอีโอภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของเจแอลแอลกล่าวว่า  ในขณะที่ภาคธุรกิจกำลังปรับตัวรับนิวนอร์มอลที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์โรคระบาด ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมงานที่ดูแลรับผิดชอบออฟฟิศ/สถานประกอบการขององค์กร ต่างมองเห็นโอกาสในการกำหนดรูปแบบสำนักงานแห่งโลกอนาคต ซึ่งต้องพิจารณาถึงวิถีใหม่ที่เกิดขึ้นในขณะนี้และวิวัฒนาการของสถานที่ทำงานจะดำเนินต่อไป เชื่อว่า บริษัทต่างๆ จะนำประเด็นเหล่านี้ เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวกับสำนักงาน/สถานประกอบการของตนในระยะต่อไป

ทั้งนี้ประเด็นที่มีการให้ความสำคัญมากที่สุดจากการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ คือ การดูแลพลานามัยและสุขภาวะที่ดีของพนักงาน โดย 58% ของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นคาดว่า การดูแลพลานามัยและสุขภาวะที่ดีของพนักงาน จะเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนด้านสถานที่ทำงานของบริษัท หมายรวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้สถานที่ทำงานสำหรับพนักงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีความแออัดน้อยลง ซึ่งเจแอลแอลมีการคาดการณ์แนวโน้มสำคัญๆ ที่จะเกิดขึ้นกับออฟฟิศสำนักงานของบริษัทต่างๆ ดังนี้

72990

-จะมีการให้ความสำคัญกับคุณภาพของออฟฟิศมากขึ้น ซึ่งรวมถึงคุณภาพของอาคารที่บริษัทเลือกใช้เป็นที่ตั้งสำนักงาน

-เพื่อให้สามารถลดความแออัดของพนักงานในออฟฟิศ คาดว่า จะมีการปรับลดที่นั่งทำงานในออฟฟิศลง เพื่อให้พนักงานนั่งทำงานห่างกันได้มากขึ้น โดยอาจใช้นโยบายการแบ่งพนักงานออกเป็นทีมสลับกันเข้าทำงาน การจัดแบ่งกะการเข้าทำงาน ตลอดไปจนถึงการขยายการใช้นโยบายการให้พนักงานบางส่วนทำงานที่บ้านหรือสถานที่อื่นนอกออฟฟิศ

-การให้พนักงานสามารถทำงานจากสถานที่อื่นนอกจากออฟฟิศ (รวมถึงการทำงานที่บ้าน) จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในหมู่บริษัทต่างๆ ในขณะที่พนักงานชื่นชอบนโยบายนี้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและช่วยให้สามารถลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับการเดินทาง

-สถานที่ทำงานจะไม่ได้หมายถึงเฉพาะออฟฟิศสำนักงานของบริษัท แต่คาดว่าจะมีการผสมผสานของออฟฟิศหลัก ออฟฟิศย่อย รวมถึงการเช่าใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซหรือเซอร์วิสออฟฟิศร่วมด้วย

-เทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้การทำงานรูปแบบใหม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีพร้อมรองรับ นอกจากนี้ ยังคงสามารถร่วมกันทำงานเป็นทีมได้แม้จะไม่ได้นั่งทำงานรวมอยู่ในสถานที่เดียวกัน ดังนั้น ในอนาคต บริษัทต่างๆ จะยังคงมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น

ส่วนนายอลัน ร็อดดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวิจัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของเจแอลแอล กล่าวว่า“โควิด-19 ได้พลิกโฉมรูปแบบสถานที่ทำงานไปในเวลาเพียงชั่วพริบตา รวมถึงวิถีการทำงานทั้งของบริษัทนายจ้างและพนักงาน ดังนั้น ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมที่ดูแลเรื่องสถานที่ทำงานจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ เชื่อว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้ออฟฟิศสำนักงานของบริษัทต่างๆ มีวิวัฒนาการขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความยั่งยืน

อย่าไรก็ดีการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมที่ดูแลเรื่องสถานที่ทำงานเป็นรายบุคคลในเดือนมิถุนายนปีนี้ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว ได้รับการรับการเปิดเผยในรายงานที่มีชื่อว่า Optimism in the Face of Crisis ซึ่งเจแอลแอลเพิ่งจัดทำเสร็จและนำออกเผยแพร่

 

Leave A Reply

Your email address will not be published.